วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

การกรอง
การกรอง คือ การแยกสารผสมที่มีสถานะเป็นของแข็งออกจากของเหลว โดยใช้กระดาษกรองซึ่งมีรูพรุนขนาดเล็ก ทำให้อนุภาคของของแข็งนั้นไม่สามารถผ่านกระดาษกรองได้ ส่วนอนุภาคของของเหลวจะผ่านกระดาษกรองได้ ซึ่งในชีวิตประจำวันเราจะคุ้นเคยกับการกรองในรูปของการใช้ผ้าขาวบางในการคั้นน้ำกะทิจากมะพร้าว แผ่นกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กรองน้ำสะอาดในเครื่องกรองน้ำ เป็นต้น


การตกตะกอน
การตกตะกอน คือ การแยกสารผสมที่เป็นของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ การนำสารผสมตั้งทิ้งไว้ เนื่องจากอนุภาคของแข็งที่แฝงอยู่นั้นมีน้ำหนัก ดังนั้นจึงตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ จากนั้นรินอนุภาคของเหลวด้านบนออกจากอนุภาคของของแข็งจะทำให้ได้สารบริสุทธิ์ทั้งสองส่วน ตัวอย่างของผสมที่ใช้วิธีการแยกสารโดยการตกตะกอน คือ น้ำโคลน ประกอบด้วยส่วนของดินที่แขวนลอยในน้ำ เมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆ อนุภาคของดินจะตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ ส่วนน้ำจะใสขึ้นสามารถรินแยกออกจากกันได้
เพื่อเป็นการลดเวลาในการตกตะกอนของสารแขวนลอย นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นเครื่องเหวี่ยง (centrifuge) แรงเหวี่ยงดังกล่าวจะทำให้ของแข็งที่แขวนลอยในของเหลวตกตะกอนได้ง่ายและเร็วขึ้น

การตกผลึก
การตกผลึก คือ การแยกของผสมที่เป็นของแข็งที่มีสมบัติการละลายในตัวทำละลายต่างกันและได้ไม่เท่ากันทุกอุณหภูมิ มีหลักการ คือ เมื่อนำของผสมละลายในตัวทำละลายต้มสารละลายนั้นจนละลายหมด แล้วทิ้งให้อุณหภูมิลดลง สารที่ละลายน้อยกว่าจะอิ่มตัวแล้วตกผลึกแยกออกมาก่อน เช่น น้ำตาลกับเกลือซิลเวอร์ไนเตรตกับโพแทสเซียมไนเตรต การแยกเกลือโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้ำทะเล

รูปแสดงตัวอย่างผลึกบางชนิด
การสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลาย คือ การแยกสารโดยอาศัยสมบัติการละลายของสารในตัวทำละลาย ต้องคำนึงถึงตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สารที่ต้องการในปริมาณมาก มีหลักการดังนี้
- เลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อสกัดให้ได้สารที่ต้องการออกมามากและต้องมีสิ่งเจือปนติดน้อยที่สุด และไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด
- กรณีที่ต้องแยกสารผสมที่มีองค์ประกอบปนกันหลายชนิด ต้องเลือกตัวทำละลายที่ละลายสารใดสารหนึ่งได้มากและอีกสารได้น้อยมาก เพื่อให้เจือปนกันน้อยที่สุด
- แยกสารที่ไม่ต้องการออกไป โดยกระบวนการแยกสารต่างๆ เช่น การกรอง เป็นต้น
- แยกสารที่ต้องการออกจากตัวทำละลาย
ซึ่งวิธีการนี้จะนิยมใช้สกัดสีจากธรรมชาติ สมุนไพร สกัดน้ำมันหอมระเหย เป็นวิธีการที่ประหยัดและปลอดภัย

รูปแสดงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนของน้ำมันดิบ
2. การกลั่นลำดับส่วน ใช้แยกสารละลายที่มีสถานะเป็นของเหลว เนื่องจากองค์ประกอบมีสถานะเหมือนกัน ทำให้จุดเดือดต่างกันไม่มาก ดังนั้นจึงไม่สามารถทำสารให้บริสุทธิ์ด้วยกระบวนการกลั่นธรรมดาได้ เพราะจะได้สารที่กลั่นออกมาไม่บริสุทธิ์อธิบายได้ดังนี้ สารที่ระเหยก่อนยังเป็นไอไม่สมบรูณ์ สารอีกชนิด ก็ระเหยกลายเป็นไอตามมา เมื่อผ่านไปยังเครื่องควบแน่น จะกลั่นตัวได้สารทั้งสองชนิดออกมาจึงเป็นการแยกสารที่ไม่สมบรูณ์ โดยมีหลักการ คือ สามารถแยกสารละลายที่จุดเดือดต่างกันเล็กน้อย และสารที่มีจุดเดือดต่ำจะกลั่นตัวออกมาก่อน เช่น การแยกน้ำออกจากแอลกอฮอล์ (น้ำมีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส แอลกอฮอล์มีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส) เมื่อนำสารละลายมากลั่น แอลกอฮอล์จะระเหยกลายเป็นไอก่อน ขณะเดือดนอกจากเกิดไอของแอลกอฮอล์แล้วยังมีไอน้ำระเหยตามมาด้วย เมื่อไอลอยขึ้นสู่คอลัมน์แก้วที่อุณหภูมิต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้ไอน้ำควบแน่นกลับสู่ขวดกลั่น ส่วนไอของแอลกอฮอล์จะผ่านไปได้และไปกลั่นตัวที่เครื่องควบแน่น ซึ่งมีความบริสุทธิ์ของแอลกอฮอล์เกือบสมบูรณ์

รูปแสดงการกลั่นลำดับส่วน
นอกจากนี้ การกลั่นลำดับส่วนยังเป็นการนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคุณค่าในน้ำมันดิบออกมาใช้ประโยชน์ได้ด้วยกระบวนการนี้
รูปแสดงเครื่องเหวี่ยงที่ใช้ในการตกตะกอน
บทความที่เก่ากว่า

1/5

เด็กชาย กฤษณ์ เกื้อกูล
เด็กชาย ฉัตรชัย ไชยวงศ์
เด็กชาย ชัชนันท์ สายแปลง
นาย ณัฐวุฒิ ดอนไพรเทียน
เด็กชาย ทศพร พุ่มทรัพย์
เด็กชาย ทศพร ทิตย์ออริตา
เด็กชาย แทนกาย เขตบรรพต
เด็กชาย ธนวัฒน์ วุฒิสาร
เด็กชาย นันทวัฒน์ เขตบรรพต
เด็กชาย ปฏิพัทธ์ ปาลวิสุทธิ์
เด็กชาย พิตตินันท์ ลุงคะ
เด็กชาย มนูศักดิ์ ใจอ้าย
เด็กชาย มาโนชญ์ ปูชิน
เด็กชาย อนิรุต บุตรเบ้า
เด็กชาย ศุภชัย ระวังภัย
เด็กชาย สรายุทธ สอนสี
เด็กชาย สุรศักดิ์ มูลเฉลิม
เด็กชาย อณัชชา ปาโม๊ะ
เด็กชาย อำนาจ ทองเชิด
เด็กชาย อิทธิกร ระวังภัย
เด็กหญิง กันยารัตน์ ล้นเหลือ
เด็กหญิง เกศนิกา ศิริจรรยา
เด็กหญิง เกษราภรณ์ เนาวบุตร
เด็กหญิง จันทิมา จันทร
เด็กหญิง จุฑามาศ เอี่ยมคำจันทร์
เด็กหญิง เจนจิรา ยงยุทธ์

เด็กหญิง ญาดารัตน์ ทองก้อน
เด็กหญิง ฐานิดา มะลิตูม
เด็กหญิง ธัญชนก แสนขัน
เด็กหญิง นัณฐิกา แสงทอง
เด็กหญิง นันทิยา ครุฑอ้วน
เด็กหญิง รวิสรา พลฤทธิ์
เด็กหญิง วรชา น้อยยาโน
เด็กหญิง ศิริลักษณ์ ธิตา
เด็กหญิง สิริยา เขียวสี
เด็กหญิง สุกัญญา ทองกก
เด็กหญิง สุนิตา แผ่วงค์
เด็กหญิง สุพัตรา พลฤทธิ์
เด็กหญิง อทิชา ดวงเดือน
เด็กหญิง อำภา เจริญฉิม

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

ที่มา
http://www.aquacheme.com/th/products/water-filters.html
ทางบริษัท อควาเคมี จำกัด ของเราสามารถออกแบบเครื่องกรองน้ำ ให้เหมาะสมกับสภาพน้ำและให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานของท่าน เพื่อให้ได้ผลที่สุดประหยัดที่สุดทั้ง การลงทุนและต้นทุนการผลิต โดยออกแบบระบบด้วยวิศวกรผู้ชำนาญมากว่า 32 ปีทั้งยังผลิตและประกอบระบบเครื่องกรองน้ำด้วยอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน
หากท่าน ต้องการให้ทางบริษัท นำตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำของท่านเพื่อตรวจคุณภาพน้ำ หรือ เข้าไปสำรวจสถานที่ติดตั้ง กรุณาติดต่อเรา ได้ที่ โทร. 0-2561-1540, 0-2561-1676 หรืออีเมล์ ทางบริษัท อควาเคมี ยินดีให้บริการท่าน

บริษัท อควาเคมี จำกัด ยังจำหน่าย สารกรองน้ำ, ไส้กรองน้ำ และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ที่ดูดน้ำเกลือ (Ejector) , หัวกรองน้ำ (Strainer), น้ำยาตรวจสอบความกระด้าง พร้อมทั้งบริการดูแลเครื่องกรองน้ำ ท่านสามารถชมผลงานบางส่วนของอควาเคมีได้ที่ ผลงานของ อควาเคมี และหากท่านต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเรา ได้ที่ โทร. 0-2561-1540, 0-2561-1676 หรืออีเมล์ ทางบริษัท อควาเคมี ยินดีให้บริการท่าน

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

สารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด
สารละลายกรด (acid solution) คือ สารละลายที่กรดละลายในน้ำ (กรดเป็นตัวละลาย น้ำเป็นตัวทำละลาย) ซึ่งสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H) เมื่อละลายน้ำ
สมบัติของสารละลายกรด สมบัติของสารละลายกรด มีดังนี้
1. มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว (กรดซิตริก) น้ำส้มสายชู (กรดแอซีติก) วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) เป็นต้น
2. ทดสอบโดยการใช้กระดาษลิตมัส (มี 2 สี คือ สีแดงและสีน้ำเงิน) ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีน้ำเงินจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีของ กระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง แต่ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีแดงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษลิตมัสรูปแสดงกระดาษลิตมัส
3. ทำปฏิกิริยากับโลหะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สไฮโดรเจน (H2) เสมอ เช่น ปฏิกิริยาของโลหะสังกะสีในกรดเกลือ ได้เกลือซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) กับแก๊สไฮโดรเจน
โลหะที่เกิดปฏิกิริยา เช่น สังกะสี (Zn), แมกนีเซียม (Mg), ทองแดง (Cu), เงิน (Ag), อะลูมิเนียม (Al) เป็นต้น
4. ทำปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนต (XCO3; X คือ ธาตุโลหะใดๆ เช่น หินปูน (CaCO3), โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือผงฟู ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เสมอ เช่น
ปฏิกิริยาของหินปูนกับกรดเกลือ ดังสมการ
เมื่อ ( ) เป็นการบอกสถานะของสารในปฏิกิริยา- (s) = solid = ของแข็ง- (l) = liquid = ของเหลว - (g) = gas = แก๊ส
ข้อควรทราบ- กรดทำปฏิกิริยากับโลหะได้แก๊สไฮโดรเจน (H2)- กรดทำปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนตได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เสมอ
5. สารละลายกรดสามารถนำไฟฟ้าได้
6. ทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน้ำ
ประเภทของกรดกรดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. กรดอินทรีย์ เป็นกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต มักพบในพืชหรือสัตว์ เพราะมีต้นกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตนั่นเอง เช่น - HCOOH กรดฟอร์มิก (กรดมด) แหล่งที่พบ เช่น มดแดง เป็นต้น- CH3COOH กรดแอซีติก (กรดน้ำส้ม) แหล่งที่พบ เช่น น้ำส้มสายชู เป็นต้น- C6H8O7 กรดซิตริก แหล่งที่พบ เช่น ส้ม มะนาว เป็นต้น- C6H8O6 กรดแอสคอร์บิก แหล่งที่พบ เช่น ส้ม มะนาว ฝรั่ง มะขามป้อม เป็นต้น- C3H6O3กรดแลกติก แหล่งที่พบ เช่น น้ำนม เป็นต้น- C14H10O9 กรดแทนนิก แหล่งที่พบ เช่น ชา เป็นต้น2. กรดอนินทรีย์ (กรดแร่ธาตุ) เป็นกรดที่เกิดจากแร่ธาตุ ไม่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ดังนั้นอำนาจการกัดกร่อนจึงสูงกว่ากรดอินทรีย์ และบางชนิดก็เป็นกรดแก่ ซึ่งมีอำนาจการกัดกร่อนสูงเช่น - H2SO4 กรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน) แหล่งที่พบ เช่น ผงซักฟอก ปุ๋ย แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น- HCl กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) แหล่งที่พบ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ อยู่ในกระเพาะอาหารของมนุษย์ เป็นต้น - H2CO3 กรดคาร์บอนิก แหล่งที่พบ เช่น น้ำโซดา น้ำอัดลม เป็นต้น

สารละลายเบส
สารละลายเบส (base solution) คือ สารละลายที่เบสละลายในน้ำ (เบสเป็นตัวละลาย น้ำเป็นตัวทำละลาย) ซึ่งสามารถแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH) เมื่อละลายน้ำ
สมบัติของสารละลายเบสสมบัติของสารละลายเบส มีดังนี้
1. มีรสฝาด ขม
2. เมื่อสัมผัสจะลื่นมือ
3. ทดสอบกับกระดาษลิตมัส ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีแดงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษลิตมัสจากสีแดงป็นสีน้ำเงิน แต่ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีน้ำเงินจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษลิตมัส
4. ทำปฏิกิริยากับเกลือแอมโมเนีย (NH4Y; Y = ธาตุโลหะ เช่น คลอรีน (Cl) ได้เป็นแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) จะได้น้ำและแอมโมเนีย (NH3) เป็นผลิตภัณฑ์เสมอ เช่น# ปฏิกิริยาของด่างคลี (NaOH, โซเดียมไฮดรอกไซด์) กับเกลือแอมโมเนียมคลอไรด์
5. ไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะ ยกเว้น อะลูมิเนียม (Al) ที่เมื่อทำปฏิกิริยาแล้วจะได้แก๊สไฮโดรเจน (H2)
6. ผสมกับน้ำมันหรือไขมัน จะได้สบู่และกลีเซอรอล เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาการเกิดสบู่ (saponification reaction)
7. สารละลายเบสนำไฟฟ้าได้
8. ทำปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน้ำ
ค่า pH ของสารละลายกรด - เบสpH มาจาก potential of hydrogen ion ซึ่งสามารถใช้บอกความเป็นกรด-เบสของสารละลายได้ ซึ่งค่า pH มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O) ซึ่งปริมาณของไฮโดรเนียมไอออนยิ่งมาก (สารละลายกรด) ค่า pH จะน้อย แต่ถ้าปริมาณของไฮโดรเนียมไอออนน้อย (สารละลายเบส) ค่า pH จะมาก ซึ่งค่า pH สามารถบอกความเป็นกรด-เบส ได้ดังนี้# pH = 7 สารละลายมีสมบัติเป็นกลาง# pH > 7 สารละลายมีสมบัติเป็นเบส ยิ่งมี pH มาก ยิ่งเป็นเบสที่แรงขึ้น# pH < 7 สารละลายมีสมบัติเป็นกรด ยิ่งมี pH น้อย ยิ่งเป็นกรดที่แรงขึ้น
ตัวอย่าง กำหนดให้ สารละลาย A มีค่า pH = 9 สารละลาย B มีค่า pH = 8 สารละลาย C มีค่า pH = 3 สารละลาย D มีค่า pH = 5 จากสารละลาย A, B, C และ D สามารถสรุปได้อย่างไร- ระหว่างสารละลาย A กับสารละลาย B พบว่าสารละลาย A เป็นเบสที่แรงกว่าสารละลาย B (pH มากกว่า)- ระหว่างสารละลาย C กับสารละลาย D พบว่าสารละลาย C เป็นกรดแรงกว่าสารละลาย D (pH น้อยกว่า) ตอบ
สารละลายกรด-เบสในชีวิตประจำวันชีวิตประจำวันในปัจจุบัน เราได้ใช้สารต่างๆ ที่มีสมบัติเป็นกรด-เบสทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งใช้ในการเป็นยารักษาโรค (ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร) กำจัดสิ่งสกปรก (สบู่ ผงซักฟอก) ปรุงอาหาร (น้ำส้มสายชู) นอกจากนี้ ในร่างกายก็ประกอบด้วยสารที่มีสมบัติเป็นกรด-เบส เช่น กรดเกลือในกระเพาะอาหาร น้ำดีจากตับ มีสมบัติเป็นเบส เป็นต้น สารที่มีสมบัติเป็นกรด-เบสในชีวิตประจำวัน เช่น1. สารทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งมักมีส่วนประกอบของกรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก (HCl) กรดไนตริก (HNO3) ซึ่งมีสมบัติเป็นกรด กรดมีสมบัติในการทำปฏิกิริยากับแผ่นกระเบื้องพื้นห้องน้ำ ทำให้เกิดการสึกกร่อน ทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากพื้นและสุขภัณฑ์ต่างๆ ได้ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นดังสมการ

การใช้น้ำยาล้างห้องน้ำที่มีส่วนประกอบของกรดเกลือ (HCl) นี้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะเกิดแก๊สที่เป็นพิษเข้าสู่หลอดลม เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ2. สารปรุงแต่งอาหาร มีทั้งที่มีสมบัติเป็นกรดและเบส เช่น - สารปรุงแต่งอาหารที่มีสมบัติเป็นกรด เช่น กรดแอซีติกในน้ำส้มสายชู กรดซิตริกในน้ำมะนาว น้ำมะขาม กรดแอสคอร์บิกในวิตามินซี เป็นต้น- สารปรุงแต่งอาหารที่มีสมบัติเป็นเบส เช่น น้ำปูนใส (Ca(OH)2), น้ำขี้เถ้า (NaOH), ผงฟู (NaHCO3) เป็นต้น3. สารในภาคเกษตรกรรม ได้แก่ ปุ๋ย ซึ่งมีทั้งที่มีสมบัติเป็นกรดและเบส เช่น- ปุ๋ยที่มีสมบัติเป็นกรด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2SO4) ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) เป็นต้น- ปุ๋ยที่มีสมบัติเป็นเบส เช่น ปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2) ปุ๋ยแอมโมเนีย (NH3) เป็นต้น4. ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร จะมีส่วนประกอบที่มีสมบัติเป็นเบสอ่อน เช่น โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3), แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3), แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Mg (OH)2, อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Al2O3) โดยสารละลายนี้จะไปทำปฏิกิริยากับกรด ซึ่งจะปรับสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหารให้ลดลงได้ ข้อควรทราบ1. ยาลดกรดที่ประกอบด้วย Mg(OH)2 และ MgCO3 จะเป็นยาระบายแก้ท้องผูก2. ยาลดกรดทีมี MgCO3และ NaHCO3จะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ3. ยาลดกรดที่มีหินปูน (CaCO3) อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก รวมทั้งอาจก่อให้เกิดโรคนิ่วได้5. สารที่ใช้ทำความสะอาด เช่น สบู่ ผงซักฟอก เป็นต้น ประกอบด้วยสารที่มีสมบัติเป็นเบส# สบู่ คือ เกลือโซเดียมหรือโพแทสเซียมของกรดไขมัน ผลิตหรือเตรียมได้จากน้ำมันหรือไขมันกับเบส โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH)
รูปแสดงโครงสร้างของสบู่
สบู่สามารถชำระล้างสิ่งสกปรกได้ โดยหันปลายข้างที่ไม่มีขั้วไปละลายคราบไขมัน ส่วนด้านที่มีขั้วหันเข้าหาน้ำ ทำให้คราบไขมันแตกตัวและถูกล้อมรอบด้วยโมเลกุลของสบู่ ทำให้คราบไขมันนั้นหลุดออกจากผิวได้# ผงซักฟอก คือ เกลือโซเดียมซัลโฟเนตของกรดไขมัน มีโครงสร้าง 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้ว จัดเป็นสารลดแรงตึงผิว
ข้อควรทราบ
สารลดแรงตึงผิวทำให้ช่วยขจัดคราบไขมัน สิ่งสกปรกออกจากเสื้อผ้าได้การทำความสะอาดของสบู่จะแตกต่างจากผงซักฟอกในน้ำกระด้าง (น้ำที่มีองค์ประกอบของแคลเซียมไอออน และแมกนีเซียมไอออน) ซึ่งผงซักฟอกสามารถทำความสะอาดได้ในน้ำกระด้าง แต่สบู่เกิดคราบไคลสบู่ขึ้นทำให้ฟองน้อย ประสิทธิภาพการทำความสะอาด


























วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552









นายกฯชวนคนไทยร่วมกิจกรรม 9 ในดวงใจ 9 ก.ย.นี้6/9/2552นายกรัฐมนตรี เชิญชวนคนไทยร่วมกิจกรรม 9 ในดวงใจ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 9 เดือน 9 ปี 09 เวลา 9.09 นาทีในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์วันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สวมเสื้อยืดคอปก ปักหน้าอก 9 ในดวงใจ เพื่อรณรงค์ในโครงการนี้ โดยขอให้ประชาชนและทุกหน่วยงานร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีในวันพุธที่ 9 กันยายนนี้ เวลา 9 นาฬิกา 9 นาที ซึ่งถือเป็นเลขมงคล 9/09/09/ 9.09 น.ที่มาhttp://www.krobkruakao.com/kkn/?a=news&s=detail&news_id=8177เขียนโดย เด็กหญิงเจนจิรา ยงยุทธ์




มะม่วงหาว มะนาวโห่ ช่วยรักษาโรคผลไม้สมุนไพร มะม่วงหาว มะนาวโห่ ช่วยรักษาโรคเป็นผลไม้สมุนไพร ช่วยซ่อมร่างกาย รับประทานสด ๆ วันละ 5-7 ลูก สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอด หัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพอง เบาหวาน ไต เก๊าท์ ไทรอยด์ ช่วยขยายหลอดเลือด เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง มีหลายท่านว่ากันว่าอาการป่วยโรคดังกล่าว จะดีขึ้นเรื่อย ๆ และสุขภาพดีขึ้นมาก ๆ เทศบาลตำบลบางนกแขวก ช่วยเผยแพร่ให้ทุกท่านได้ทราบ รับประทานดู ภาพมะม่วงหาว มะนาวโห่ที่มาของเทศบาลตำบลบางนกแขวกอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามhttp://www.bangnokkweak.go.th/default.php?modules=news&data=detail&ItemOfPage=10&page=2&Id=27เขียนโดย เจนจิรา ที่ 12:35 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น

สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)
ตัวอย่างข้อสอบ
1. ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด
ก. ไฮโดรเจน
ข. ไฮดรอกไซด์ไอออน(OH)
ค. คาร์บอนไดออกไซด์
ง. ออกซิเจน
2. ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอนเนต CO 2 หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต (H)
ก. กรด
ข. เบส
ค. เกลือ
ง. เกลือกับน้ำ
3. ข้อใดทำปฏิกิริยาได้กับเกลือเรียกว่า ปฏิกิริยาสะเทินNeutralization reaction
ก. กรด
ข. เบส
ค. เกลือ
ง. เกลือกับน้ำ
4. ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก. กลาง
ข. เกลือ
ค. เบส
ง. กรด
5. ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน
ก. กรด
ข. เบส
ค.
. ถูกทุกข้อ